OEM ODM และ OBM อักษรย่อที่คนอยากทำแบรนด์ควรรู้

       ในยุดดิจิตอล สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้รวดเร็วมากๆ การสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง ไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป เพราะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีโรงงานรับผลิตอาหารเสริมครบวงจรทั้งในและต่างประเทศ  พร้อมรองรับการผลิตตามความต้องการของนักธุรกิจ ที่มีความต้องการสร้างสินค้าตามความต้องการ เพียงมีไอเดีย และเงินทุน ก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้โดยไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
       สำหรับใครที่กำลังวางแผนผลิตสินค้าแบรนด์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ครีม เครื่องสำอาง  อาหารเสริม อาหารสำเร็จรูป คงคุ้นเคยกับคำว่า OEM , ODM และ OBM กันมาบ้าง ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ใช้เรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดบริการแต่ละประเภท ที่มีความแตกต่างกัน  เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและสามารถเลือกโรงงานให้เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการผลิตและเหมาะกับธุรกิจของเราได้

       OEM ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer  หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัท หรือผู้ที่สนใจอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยโรงงานที่รับผลิตสินค้า OEM นั้น จะรับจ้างผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือจะไม่ตีตราแบรนด์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปจัดจำหน่ายต่อ ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างผลิตมีความเสี่ยงต่ำ และใช้เงินทุนในการผลิตไม่สูงมาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าเอง เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างแบรนด์ของตนเอง และต้องการเริ่มผลิตในจำนวนน้อย และโรงงานรับผลิตส่วนใหญ่ได้รับมาตราฐานการผลิตระดับสากล มีเครื่องหมายรับรอง ทำให้เชื่อถือได้ในคุณภาพของสินค้า

ข้อดีของการเลือกใช้บริการโรงงานผลิตแบบ OEM

  • ใช้เงินทุนในการผลิตไม่สูงมาก สามารถสั่งผลิตยอดขั้นต่ำที่โรงงานกำหนดได้
  • เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  • ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและทีมที่การผลิตคอยให้คำปรึกษา
  • สามารถรับบริการแบบครบวงจร จากผู้รับจ้างผลิต


ข้อเสีย

  • หากเปรียบเทียบกับการมีโรงงานเป็นของตัวเอง OEM มีต้นทุนการผลิตต่อชิ้นสูงกว่าผลิตเอง
  • หากใช้สูตรของโรงงาน สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก

       การสั่งผลิตสินค้า OEM ไม่จำเป็นต้องจ้างผลิตสินค้าเพื่อสร้างแบรนด์เพื่อจำหน่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถสั่งผลิตเพื่อต้องการ สินค้าพรีเมี่ยม (Premium Product) ที่ติดชื่อบริษัท หรือ แบรนด์ของเราเองเพื่อเป็นของขวัญมอบให้แก่ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ หรือสำหรับให้พนักงานในบริษัท เพื่อให้เแบรนด์หรือบริษัทนั้นๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรอีกด้วย

       ODM ย่อมาจากคำว่า Original Design Manufactuere หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัท หรือผู้ที่สนใจอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยโรงงานที่รับผลิตสินค้า ODM เป็นโรงงานที่มีการทำวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ หากเป็นอาหารเสริม เครื่องสำอาง ก็จะมีการคิดค้น ทำวิจัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และจุดเด่นที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่เดิมในท้องตลาด การคิดพัฒนานั้น มีการทดลอง ทดสอบประสิทธิภาพ เพื่อเป็นสูตรที่ลงตัง มีมาตราฐานของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะ

       โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถในการผลิต และคิดค้นสูตร โดยสามารถพัฒนาสูตรสินค้าตามความต้องการของลูกค้าได้ และนำสูตรสินค้านั้นๆไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือลูกค้าสามารถออกแบบร่วมกันพัฒนาสูตร โดยที่ลูกค้ามีหน้าที่ในการขายและกระจายสินค้า และการตลาด ซึ่งการพัฒนาสูตรเหล่านี้มีเงื่อนไขต่างๆอยู่ที่การตกลงแต่แรก เช่นการคิดค้นสูตรให้แบบเฉพาะราย โดยมีการคิดค่าพัฒนาสูตรที่ราคาสูง เพราะถือว่าลูกค้าได้สูตรเพียงรายเดียว หรือการร่วมพัฒนาสูตร แต่ลูกค้าไม่ได้สิทธิของสูตรนั้นเพียงคนเดียว ซึ่งการพัฒนาสูตรแบบนี้จะทำให้ค่าพัฒนาสูตรลดลง

ข้อดีของการเลือกใช้บริการโรงงานผลิตแบบ ODM

ข้อดี

  • มีสูตรให้แบรนด์เลือกที่ไม่ซ้ำกับท้องตลาดที่มีอยู่
  • สามารถเลือกสูตรที่ทางโรงงานพัฒนาขั้นมาใหม่ หรือ ร่วมพัฒนาสูตรใหม่ได้
  • เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  • ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและทีมที่การผลิตคอยให้คำปรึกษา
  • สามารถรับบริการแบบครบวงจร จากผู้รับจ้างผลิต

ข้อเสีย

  • มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงกว่าแบบ OEM เพราะมีเรื่องการพัฒนาสูตรและอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

       OBM ย่อมาจากคำว่า Original Brand Manufacturer หมายถึง การผลิตภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานที่เติบโตอย่างเต็มที่ มีชื่อเสียงในวงกว้าง รวมถึงมีการทำการตลาดภายใต้แบรนด์อย่างต่อเนื่อง สามารถดำเนินการเองตั้งแต่คิดค้น วิจัย พัฒนาสูตร รวมถึงกระบวนการผลิต สามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้ในปริมาณมากภายใต้แบรนด์ของตัวเอง การลงทุนเพื่อสร้างโรงงานทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากทีเดียว

ข้อดีของการเลือกใช้บริการโรงงานผลิตแบบ OBM

  • มีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถพัฒนาสูตรได้ทุกเวลาเพื่อทันต่อความต้องการของตลาด
  • สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณที่มาก
  • ช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้มาก
  • สามารถปรับกลยุทธ์ในการผลิตการผลิตสินค้าได้มาก

ข้อเสีย

  • การพัฒนาสูตรรวมถึงขั้นตอนการผลิตต่างๆ ทำด้วยตัวเอง ไม่มีที่ปรึกษาหรือทีมร่วมพัฒนาสูตร
  • ต้นทุนการสร้างโรงงานผลิตสูงมาก
  • ย้ายฐานการผลิตยาก

       จากที่เห็นกล่าวมาทั้ง OEM  ODM และ OBM มีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน และสามารถดำเนินการแต่ละแบบร่วมกันได้  เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะเลือกโรงงานผลิตประเภทใด สำคัญคือให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าโรงงานดังกล่าวนั้นได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เชื่อมั่นได้ว่าสามารถผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพออกมาได้ตามความต้องการ